Phrase (วลี)
ความหมายของ Phrase (วลี)
Phrase คือ กลุ่มคำที่เกี่ยวพันธ์กัน มีความหมายชัดเจนในตัวเอง สามารถใช้แทนชนิด คำนาม คำคุณศัพท์ หรือคำกริยาวิเศษณ์ แต่ความหมายนั้นยังไม่สมบูรณ์ ไม่มีประธาน หรือกริยาแท้เป็นของตัวเอง ต้องอาศัยอยู่ในประโยค เนื้อความนั้นจึงจะสมบูรณ์
วลี ได้แก่ กลุ่มคำที่มีความหมาย แต่ไม่ใช่ประโยค (sentence) หรือ อนุประโยค (clause)
ในแง่ของไวยากรณ์ Phrase (วลี) คือ กลุ่มคำที่ไม่ใช่เพียงแค่มีความหมายเท่านั้น แต่มีสถานะในเชิงไวยากรณ์อีกด้วย วลีนั้นๆ อาจมีสถานะเป็นคำประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือจัดอยู่ในส่วนต่างๆ
ของคำพูด (parts of speech) กล่าวคือ วลีดังกล่าวนั้น อาจจะมีหน้าที่เป็นคำนาม (noun), คำคุณศัพท์ (adjective), คำกริยาวิเศษณ์ (adverb), หรือ คำกริยา (verb) เป็นต้น อยู่ในประโยคนั้นๆ
ในแง่ของไวยากรณ์ Phrase (วลี) คือ กลุ่มคำที่ไม่ใช่เพียงแค่มีความหมายเท่านั้น แต่มีสถานะในเชิงไวยากรณ์อีกด้วย วลีนั้นๆ อาจมีสถานะเป็นคำประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือจัดอยู่ในส่วนต่างๆ
ของคำพูด (parts of speech) กล่าวคือ วลีดังกล่าวนั้น อาจจะมีหน้าที่เป็นคำนาม (noun), คำคุณศัพท์ (adjective), คำกริยาวิเศษณ์ (adverb), หรือ คำกริยา (verb) เป็นต้น อยู่ในประโยคนั้นๆ
ชนิดของคำ (Parts of speech)
คำว่า phrase แปลว่า “วลี” หรือ “กลุ่มคำ” เพราะฉะนั้นถ้าจะทำความเข้าใจกับเรื่องนี้ ควรมีความรู้เรื่อง “คำ” เป็นพื้นฐานมาก่อน โดยเฉพาะเรื่องชนิดของคำ (parts of speech) ซึ่งมีอยู่ 8 ชนิด ได้แก่
1. Noun (คำนาม)
2. Pronoun (คำสรรพนาม)
3. Verb (คำกริยา)
4. Adjectives (คุณศัพท์)
5. Adverb (วิเศษณ์ หรือ กริยาวิเศษณ์)
6. Preposition (คำบุพบท)
7. Conjunction (คำสันธาน)
8. Interjection (คำอุทาน)
1. Noun (คำนาม)
เป็นคำที่ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ ทั้งที่มีรูปร่างเช่น โต๊ะ สมุด และไม่มีรูปร่างเช่น วัน เวลา อากาศ รวมทั้งชื่อของคน สัตว์ หรือสิ่งของ เช่น
คน: man father lady
สัตว์: dog cat bird สิ่งของ: city table month |
ชื่อคน: John Mary
ชื่อสัตว์: Lassie Lucifer ชื่อสิ่งของ: Bangkok January |
2. Pronoun (คำสรรพนาม)
เป็นคำที่ใช้เรียกแทนคำนามเพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวซ้ำ เช่น I, we, you, he, she, it หรือใช้แทนคำนามที่เราไม่ทราบว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร หรือใคร เช่น someone, something
แทนคำซ้ำ Mai is a beautiful woman. Mai is a popular singer.
= Mai is a beautiful woman. She is a popular singer.
ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร Something is missing. ไม่รู้ว่าอะไรหายไป
3. Verb (คำกริยา)
เป็นคำที่บอกอาการหรือการกระทำ (action) หรือบอกความเป็นอยู่ (being) หรือสภาวะความเป็นอยู่ (state of being) เช่น fly, is, am, seem, look.
การกระทำ
ความเป็นอยู่ สภาวะความเป็นอยู่ |
Birds fly. นกบิน
Danny is a boy. แดนนี่เป็นเด็กผู้ชาย He looks good. เขาแลดูดี |
4. Adjectives (คุณศัพท์)
เป็นคำที่อธิบายหรือขยาย noun หรือ pronoun ให้ได้รายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติของ
สิ่งนั้นๆ เพิ่มขึ้น เช่น new, ugly, ill, happy, afraid, careless.
สิ่งนั้นๆ เพิ่มขึ้น เช่น new, ugly, ill, happy, afraid, careless.
He bought a new car. เขาซื้อรถใหม่. (new ขยาย car ซึ่งเป็น noun)
They are ugly. พวกเขาน่าเกลียด (ugly ขยาย they ซึ่งเป็น pronoun)
5. Adverb (วิเศษณ์ หรือ กริยาวิเศษณ์)
เป็นคำที่อธิบายหรือขยาย verb หรือ adjective หรือ adverb ด้วยกันเอง เช่น hard, fast, very
He works hard. เขาเป็นคนทำงานหนัก (hard ขยาย works ซึ่งเป็น verb)
He is very rich. เขาเป็นคนจนมาก (very ขยาย rich ซึ่งเป็น adjective)
6. Preposition (คำบุพบท)
เป็นคำ หรือกลุ่มคำที่วางหน้า noun หรือ pronoun เพื่อแสดงว่าคำนามหรือสรรพนามนั้นเกี่ยวข้องกับคำอื่นๆในประโยคอย่างไร เช่น on, at, in, from, within
I will see you on Monday. ฉันจะพบกับคุณในวันจันทร์
She was waiting at the restaurant. เธอรออยู่ที่ร้านอาหาร
There is a cockroach in my room. มีแมลงสาบตัวหนึ่งในห้องฉัน
7. Conjunction (คำสันธาน)
เป็นคำที่ใช้เชื่อม คำ กลุ่มคำ หรือประโยคเข้าด้วยกันเพื่อให้ความหมายสมบูรณ์ขึ้น เช่น and, but, therefore, beside, either..or
John is rich and handsome . จอห์นเป็นคนรวยและรูปหล่อ
Either you or she has to do this job. ไม่คุณก็เธอที่จะต้องทำงานนี้
8. Interjection (คำอุทาน)
เป็นคำอุทานที่แสดงถึงอารมณ์ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนั้น โดยไม่เกี่ยวข้องกับคำอื่นๆ ใน ประโยคเลย เช่น Oh God! , WOW, Hurrah
การพิจารณาว่าคำไหนเป็นคำชนิดใด เราดูที่การทำหน้าที่ของมันในประโยค คำ ๆ เดียวอาจทำหน้าที่อย่างหนึ่งในประโยคหนึ่ง แต่อาจทำหน้าที่อย่างอื่นในประโยคอื่นดังในตารางต่อไปนี้
word
|
parts of speech
|
example
|
work
|
noun
|
My work is easy. งานของฉันง่าย
|
verb
|
I work in Bangkok. ฉันทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ
| |
but
|
conjunction
|
John came but Mary didn't come. จอห์นมาแต่แมรี่ไม่ได้มา
|
preposition
|
Everyone came but Mary. ทุกคนมานอกจากแมรี่
| |
well
|
adjective
|
Are you well? คุณสบายดีหรือ?
|
adverb
|
She speaks well. เธอพูดได้ดี
| |
interjection
|
Well ! That expensive. แหม! แพงจัง
| |
afternoon
|
noun
|
We ate in the afternoon. เรารับประทานในตอนบ่าย
|
noun ทำหน้าที่เหมือน adjective
|
We had afternoon tea. เราดื่มชามื้อบ่าย
|
ประเภทของ Phrase
ในภาษาอังกฤษเราสามารถแบ่ง phrases ออกได้เป็น 5 ชนิด ได้แก่
1. Noun phrase (NP)
Noun phrase (นามวลี) คือกลุ่มคำที่มี noun หรือ pronoun เป็นคำหลัก และอาจมี modifers (ส่วนขยาย) อยู่ด้วย noun phrase อาจจะอยู่ในรูปของคำ ๆ เดียวก็ได้ เช่น
cats (noun)
he (pronoun)
it (pronoun)
everyone (pronoun)
he (pronoun)
it (pronoun)
everyone (pronoun)
ถ้า noun phrase มีส่วนขยายอยู่ข้างหน้านามตัวหลัก เราเรียกส่วนขยายนั้นว่า premodifier เช่น
some black cats
นามวลีนี้มี some (determiner) กับ black (adjective) เป็น premodifiers
ถ้า noun phrase มีส่วนขยายอยู่ข้างหลังนามตัวหลัก เราจะเรียกมันว่า postmodifier เช่น
the best day of my life
นามวลีนี้มีบุพบทวลี of my life เป็น postmodifier
the girl that I love
นามวลีนี้มี relative clause คือ that I love เป็น postmodifier
นามวลี (noun phrase) สามารถทำหน้าที่ในเชิงไวยากรณ์ ดังต่อไปนี้:
1. ประธานของประโยค เช่น
Ÿ My younger sister is arriving tomorrow.
Ÿ The new supermarket opens tomorrow.
2. กรรมของกริยา เช่น
Ÿ I found a map of Prague in the dest.
Ÿ I've lost my bunch of keys.
3. กรรมของคำบุพบท เช่น
Ÿ I number of charities focus on child poverty.
Ÿ He arrived home with a cut knee.
4. เป็นส่วนเติมเต็มของกริยาที่ใช้เชื่อมต่อกัน (linking verb) หรือ เป็นส่วนเติมเต็มกรรมที่อยู่หลังกริยาที่เรียกหากรรม (transitive verb) เช่น
Ÿ Several of my friends were members of the choir.
Ÿ You've made me the proudest father in the world.
2. Adjective phrase (AdjP)
Adjective phrase (คุณศัพท์วลี) คือกลุ่มคำที่มี adjective เป็นคำหลักและอาจมีส่วนขยายอยู่ด้วย
Adjective phrase อาจจะประกอบด้วย adjective ตัวเดียวโดด ๆ หรืออาจจะมีส่วนขยายข้างหน้าที่เรียกว่า premodifer และส่วนขยายข้างหลังที่เรียกว่า postmodifier ด้วยก็ได้ ตัวอย่างประโยค (ส่วนที่เป็นสีแดงทั้งหมดคือ adjective phrase โดยที่คำหลักคือคำที่พิมพ์ด้วยตัวหนา)
Jack is handsome.
คุณศัพท์วลีนี้มีเฉพาะคำหลัก ไม่มี modifier
John is very intelligent.
คุณศัพท์วลีนี้มี very (adverb) เป็น premodifier
John is afraid of heights.
คุณศัพท์วลีนี้มีบุพบทวลี of heights เป็น postmodifier
We are happy to see you.
คุณศัพท์วลีนี้มี to-infinitive clause คือ to see you เป็น postmodifier
I am relieved that nobody was hurt.
คุณศัพท์วลีนี้มี that-clause คือ that nobody was hurt เป็น postmodifier
คุณศัพท์วลี (adjectival phrase) ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ (adjective) เพื่ออธิบายหรือขยายคุณลักษณะของคำนาม (noun) หรือ คำสรรพนาม (pronoun) ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เราอาจพบคุณศัพท์วลีในตำแหน่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. อยู่ก่อนคำนาม เช่น
Ÿ an absolutely terrible experience. (ประสบการณ์ที่แย่สุดขีด)
Ÿ on-the-spot reporting. (การรายงาน ณ.บริเวณที่เกิดเหตุ)
Ÿ one-day-old chicks. (ลูกไก่ เป็ด หรือ ลูกนก เป็นต้น) ที่มีอายุ 1 วัน)
2. อยู่หลังคำนาม หรือสรรพนาม เช่น
Ÿ anybody with any common sense.
Ÿ a letter from the landlord.
3. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของ linking verb หรือ เป็นส่วนเต็มเต็มกรรม (object compliment) เช่น
Ÿ The baby is sound asleep.
Ÿ You've made me extremely pround.
3. Adverb phrase (AdvP)
Adverb phrase (กริยาวิเศษณ์วลี) คือกลุ่มคำที่มี adverb เป็นคำหลักและอาจมีส่วนขยายอยู่ด้วย
Adverb phrase อาจจะประกอบด้วย adverb ตัวเดียวโดด ๆ หรืออาจจะมีส่วนขยายข้างหน้าที่เรียกว่า premodifer และส่วนขยายข้างหลังที่เรียกว่า postmodifier ด้วยก็ได้ ตัวอย่างประโยค (ส่วนที่เป็นสีแดงทั้งหมดคือ adverb phrase โดยที่คำหลักคือคำที่พิมพ์ด้วยตัวหนา)
The engine was running smoothly.
กริยาวิเศษณ์วลีนี้มีเฉพาะคำหลัก ไม่มี modifier
You’re driving too fast!
กริยาวิเศษณ์วลีนี้มี too เป็น premodifier
กริยาวิเศษณ์วลี (adverbial phrase) ทำหน้าที่เป็นกริยาวิเศษณ์ (adverb) และสามารถใช้ในลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้คือ
1. ทำหน้าที่อธิบาย หรือขยายคำกริยาให้เด่นชัด หรือชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น
Ÿ He died very peacefully.
Ÿ He died among his loved ones.
Ÿ I'll see you this evening.
Ÿ The work was completed in less than a month.
2. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม linking verb หรือทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มกรรม เช่น
Ÿ Jack is at school.
Ÿ Joe seems in excellent form.
Ÿ Amy imagines herself in the height of fashion.
Ÿ You think me out of touch, don't you?
3. ทำหน้าที่เป็นกริยาวิเศษณ์ขยายประโยคนั้นๆ (sentence adverb) เช่น
Ÿ In my opinion, Brian should have returned to Ireland.
Ÿ In the first place, we haven't enough cash.
Ÿ In conclusion, I would say that the enterprise was a moderate success.
Ÿ Kenneth is still a child, in a way.
Ÿ To a certain extent, you're right.
Ÿ At the end of the day it's the audience enjoyment that counts.
Ÿ To my dismay, Kay refused my invitation.
4. Verb phrase (VP)
Verb phrase (กริยาวลี) จะมี main verb (กริยาหลัก) 1 ตัว และอาจมี auxiliary verbs (กริยาช่วย) อยู่ข้างหน้าด้วย
Verb phrase อาจประกอบด้วย main verb เพียงตัวเดียวก็ได้ ลองดูประโยคต่อไปนี้ (verb phrase คือตัวหนา)
We play tennis every day.
He plays tennis every day.
I played tennis last week.
หรือจะมี auxiliary verbs ปรากฏร่วมด้วยก็ได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ (ตัวบางคือ auxiliary verb; ตัวหนาคือ main verb)
I will play tennis tomorrow.
I can’t play tennis.
Verb phrases ในตัวอย่างเหล่านี้ถือเป็น tensed verb phrases (กริยาวลีที่แสดง tense) นอกจากนี้ยังมี verb phrase อีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า non-tensed verb phrase (กริยาวลีที่ไม่แสดง tense) ตัวอย่างเช่น
I love playing tennis. ฉันชอบเล่นเทนนิส
I saw her being killed. ฉันเห็นหล่อนถูกฆ่า
I don’t want to upset my mom. ฉันไม่อยากทำให้แม่เสียใจ
Verbs ชนิดพิเศษที่ประกอบด้วยคำมากกว่า 1 คำ หรือที่เรียกว่า multi-word verbs ซึ่งมี 3 ประเภทหลัก ๆ คือ
1. phrasal verbs
2. prepositional verbs
3. phrasal-prepositional verbs
ตัวอย่างเช่น
I give up!
ฉันยอมแพ้ (= เลิกทำ/เลิกล้มความพยายาม)
- เราเรียก give up ว่า phrasal verb
- phrasal verb ประกอบด้วย verb + adverb particle
- ในที่นี้ up เป็น adverb นะครับ ไม่ได้เป็น preposition
- เราถือว่า give up เป็น 1 verb phrase
John is looking after his parents.
จ้อนกำลังดูแลพ่อแม่ของเขา
- เราเรียก looking after ว่า prepositional verb
- prepositional verb ประกอบด้วย verb + preposition
- ในที่นี้ after เป็น preposition
- เราถือว่า is looking after เป็น 1 verb phrase
Never look down on anybody.
อย่าดูถูกใครแม้แต่คนเดียว
- เราเรียก look down on ว่า phrasal-prepositional verbs
- phrasal-prepositional verbs ประกอบด้วย verb + adverb particle + preposition
- ในที่นี้ down เป็น adverb และ on เป็น preposition
- เรามอง look down on เป็น 1 verb phrase
กริยาวลี (verb phrase) ที่ประกอบกันมากกว่า 1 คำ โดยทั่ว ๆ ไป มักจะเป็นพวกกริยาช่วย หรือ modal verb รวมกันเข้ากับกริยาหลัก แต่ทั้งนี้อาจจะมีคำกริยาช่วยมากกว่า 1 คำก็ได้ เช่น
Ÿ I have finished.
Ÿ Should we warm them?
Ÿ You might have been badly injured.
Ÿ Jim had been studying very hard.
Ÿ We shall soon be arriving in Singapore.
Ÿ She must have forgotten.
5. Prepositional phrase (PP)
Prepositional phrase (บุพบทวลี) มีโครงสร้างคือ preposition + noun phrase เช่น
in my bedroom
PP นี้มี in เป็น preposition ตามด้วย noun phrase คือ my bedroom
on the table
PP นี้มี on เป็น preposition ตามด้วย noun phrase คือ the table
เมื่อ prepositional phrase ปรากฏอยู่ในประโยคมันทำหน้าที่อะไรได้บ้าง (ส่วนที่เป็นสีแดงทั้งหมดคือ prepositional phrase; ตัวหนาคือ preposition)
I like to read in bed.
บุพบทวลี in bed ทำหน้าที่เป็น adverbial ขยายกริยา read
I took several courses in history.
บุพบทวลี in history ทำหน้าที่เป็น postmodifier ของคำนาม courses
I am not happy with my marks this term.
บุพบทวลี with my marks ทำหน้าที่เป็น postmodifier ของคำคุณศัพท์ happy
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น