ชีวิตและผลงานของพระอนุรุทธะ
พระอนุรุทธะหรือพระอนุรุทธาจารย์ เป็นนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทที่สำคัญและมีชื่อเสียงทางพระอภิธรรมอีกท่านหนึ่ง นอกจากศิษย์เก่าแห่งสำนักวัดมหาวิหารรุ่นพี่ของท่านคือ พระพุทธทัตตะผู้แต่งคัมภีร์อภิธัมมาวตาระ และพระพุทธโฆสาจารย์ผู้แต่งอรรถกถาพระอภิธรรม 7 คัมภีร์
พระอนุรุทธะจัดว่าเป็นอาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์ประเภทสังคหะ
รวบรวม อธิบาย และสรุปย่อเนื้อหาสำคัญของพระอภิธรรม (อภิธัมมสังคหาจารย์) หนังสือคู่มืออธิบายย่ออภิธรรมที่มีชื่อเสียงและสร้างชื่อให้กับท่านมากที่สุด ก็คือ คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ
ชีวประวัติ
1. ชาติภูมิ
พระอนุรุทธะเป็นชาวทมิฬแห่งอินเดียใต้อีกท่านหนึ่ง คือ ท่านเป็นชาวเมืองกาวิละ ซึ่งเป็นเมืองท่า แถบมัทราส (มัททราฐ) ในรัฐทมิฬนาฑู แห่งอินเดียใต้ปัจจุบัน รศ.พัฒน์ เพ็งพลา แม้ไม่กล่าวว่าท่านเป็นชาวเมืองอะไรก็ยืนยันไว้ในหนังสือ “ประวัติวรรณคดีบาลี” ของท่านว่า “พระอนุรุทธะเป็นชาวอินเดีย” แต่คัมภีร์คันธวงส์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชาติภูมิของพระอนุรุทธต่างออกไป โดยกล่าวว่าท่านเป็นชาวลังกาโดยกำเนิด พม่าเองก็เชื่อว่าพระอนุรุทธะเป็นพระเถระของประเทศลังกา
พระอนุรุทธะเถระ พระนามเดิม เจ้าชายอนุรุทธะ เป็นพระนามที่พระญาติทั้งหลายขนานให้ พระบิดา พระนามว่า อมิโตทนะ เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ ประสูติที่พระราชวังนครกบิลพัสดุ์
เป็นวรรณะกษัตริย์
เจ้าชายอนุรุทธะ มีพี่น้องร่วมพระมารดาเดียวกัน 2 พระองค์ คือ 1. พระเชษฐา พระนามว่า เจ้าชายมหานามะ 2. พระกนิษฐภคินี พระนามว่า โรหิณี
เจ้าชายอนุรุทธะ เป็นผู้มีบุญญาธิการสูง เป็นสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง และเป็นผู้มีปัญญามาก ไม่รู้จักแม้ แต่คำว่า ไม่มี
ถึงจะขัดแย้งกันเรื่องข้อมูลดังนั้นก็ตาม แต่จากหลักฐานที่พอหาได้ก็ค่อนข้างเป็นไปได้ว่าพระอนุรุทธะเป็นชาวอินเดียใต้โดยกำเนิด ตามที่อาจารย์เสถียร โพธินันทะ และ รศ.พัฒน์ เพ็งพลา กล่าวยืนยัน ตามประวัติท่านพระอนุรุทธะเคยเดินทางไปศึกษาและแต่งคัมภีร์อยู่ในลังกา
แม้ไม่อาจทราบได้ว่า
บิดามารดาของพระอนุรุทธาจารย์ผู้มีชื่อเสียงด้านพระอภิธรรมท่านนี้เป็นคนในวรรณะใด และมีชื่อว่าอะไร แต่ก็พอจะทราบอยู่บ้างว่า ท่านเกิดในตระกูลผู้ดีตระกูลหนึ่งในเมืองกาเวรี แห่งนครกาญจิปุระ (เมืองหลวงของอาณาจักรปัลลวะโบราณของชาวทมิฬ)
ยุคสมัยของท่านพระอนุรุทธะมีการสันนิษฐานกันไปต่างๆ
กัน อาจารย์เสถียร โพธินันทะ นักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงชาวไทยกล่าวว่า ยุคสมัยของพระอนุรุทธะ นักปราชญ์พุทธสมัยหลังพระพุทธโฆสาจารย์
ตกอยู่ในราวๆ พ.ศ. 900 ปีเศษ แต่จะเศษไปเท่าใดท่านมิได้กล่าวไว้ บางทีจะเศษจนถึง พ.ศ. 1000 ก็เป็นไปได้ บางท่านกล่าวแย้งว่า “ท่านพระอนุรุทธาจารย์ผู้นี้รุ่นเดียวกันกับพระพุทธโฆสาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์อรรถกถาทั้งหลายราว พ.ศ. 953 แต่นักปราชญ์ชาวตะวันตกมีทัศนะแตกต่างกันมาก เช่น บิมาลา เชอร์น ลอร์ เชื่อว่า พระอนุรุทธะน่าจะมีชีวิตอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 (พุทธศตวรรษที่ 14) หรือสูงขึ้นไปก็ไม่น่าจะเกินคริสต์ศตวรรษที่ 12 (พุทธศตวรรษที่ 18) เค.อาร์.นอร์แมน กล่าวว่า พระอนุรุทธะมีชีวิตอยู่ในราวตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 (พุทธศตวรรษที่ 17) หรือในราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 (พุทธศตวรรษที่ 18) ดังนั้น ถ้าจะสรุปแบบประนีประนอมที่สุดในเรื่องยุคสมัยของพระอนุรุทธะนี้ ก็ต้องกล่าวว่าพระอนุรุทธะมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งระหว่างพุทธศตวรรษที่ 10-18 (คริสต์ศตวรรษที่ 4-12)
2. การศึกษาและการบวช
เจ้าชายอนุรุทธกุมาร เมื่อยังเป็นฆราวาส ดำรงพระสถานะเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์ผู้สุขุมาลชาติ มีปราสาท 3 หลัง แม้แต่คำว่าไม่มีก็ไม่เคยรู้จัก เมื่อเหล่าศากยราชกุมารพระองค์อื่นออกผนวชติดตามพระพุทธเจ้า เจ้ามหานามะผู้เป็นพระเชษฐาจึงปรารภเรื่องออกบวชกับท่านอนรุทธะว่าควรตัดสินใจเลือกคนในตระกูลสักคนออกบวชบ้าง แต่ท่านอนุรุทธะปฏิเสธว่าตนคงออกบวชไม่ได้เพราะเคยได้รับความสุขอยู่ไม่อาจจะบวชอยู่ได้ เจ้ามหานามะจึงรับอาสาบวช โดยได้สั่งสอนการทำนาข้าวโดยละเอียยดตั้งแต่ไถจนถึงเก็บเกี่ยว เวียนไปทุกฤดูกาลทุกปีๆ ไป แก่ท่านอนุรุทธะ ท่านอนุรุทธะฟังแล้วคิดว่า การงานไม่มีที่สิ้นสุด จึงบอกว่าตนจะอาสาบวชเอง
จากนั้นท่านได้ไปขออนุญาตพระมารดา พระมารดาคงไม่ประสงค์ให้ท่านบวชจึงกล่าวท้าทายว่าถ้าหากชวนพระเจ้าแผ่นดินศากยะออกบวชได้ จึงจะอนุญาตให้บวช
ท่านจึงไปรบเร้าและชวนพระเจ้าภัททิยะราชาให้ออกบวช ในขั้นแรกพระเจ้าภัททิยราชาปฏิเสธ จนสุดท้ายพระอนุรุทธะรบเร้าหนักเข้าและพระเจ้าภัททิยะราชาคงเห็นคุณแห่งการออกบวชจึงยอมสละราชสมบัติออกผนวชตาม
ท่านจึงไปรบเร้าและชวนพระเจ้าภัททิยะราชาให้ออกบวช ในขั้นแรกพระเจ้าภัททิยราชาปฏิเสธ จนสุดท้ายพระอนุรุทธะรบเร้าหนักเข้าและพระเจ้าภัททิยะราชาคงเห็นคุณแห่งการออกบวชจึงยอมสละราชสมบัติออกผนวชตาม
ดังนั้นเจ้าชายอนุรุทธะจึงพร้อมกับเจ้าราชกุมารทั้ง 5 คือ พระเจ้าภัททิยะศากยะราชา, เจ้าชายอานันทะ, เจ้าชายภัคคุ, เจ้าชายกิมพิละ และเจ้าชายเทวทัตต์ และนายช่างกัลบกนามว่านายอุบาลีภูษามาลาอีก 1 ท่าน รวมเป็น 7 ออกบวช ณ อนุปิยอัมพวัน ในอนุปิยนิคม แคว้นมัลละ โดยในวันผนวชนั้น เจ้าชายทั้ง 6 ได้ตกลงกันให้นายอุบาลีผู้เป็นช่างภูษามาลาออกบวชก่อนตน เพื่อจะได้ทำความเคารพเป็นการลดทิฐิและมานะแห่งความเป็นเชื้อสายกษัตริย์ ของตนลงโดยทั้งหมดได้อุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทาโดยตรงจากพระพุทธเจ้า
เมื่อพระอนุรุทธะออกบวชแล้ว ได้ไปเรียนกัมมัฏฐานกับพระสารีบุตร แล้วเข้าไปปฏิบัติพระกรรมฐานในป่าปาจีนวังสมฤคทายวัน ได้ตรึกถึงมหาปุริสวิตก 7 ประการ ว่าเป็นธรรมะของผู้ปรารถนาน้อย ยินดีด้วยสันโดษ ไม่ใช่ธรรมของผู้มักมาก พระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงทรงทราบความนั้นจึงตรัสแสดงมหาปุริสวิตกข้อที่ 8 ว่าเป็นธรรมของผู้ไม่เนิ่นช้า พระอนุรุทธะเจริญสมณธรรมต่อไปก็ได้บรรลุอรหันต์
เมื่อท่านบรรลุสมณธรรมแล้ว ท่านชอบตรวจดูสัตวโลกด้วยทิพยจักษุอยู่เสมอ ยกเว้นแต่เวลาฉันภัตตาหารเท่านั้น ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงยกย่องท่านว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านผู้มีทิพยจักษุญาณ
พระอนุรุทธะรับคำอาราธนาและได้แต่งคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะขึ้น เมื่อแต่งเสร็จแล้วได้นำไปให้อาจารย์พระมหาปิยทัตตะตรวจดู อาจารย์ตรวจดูแล้วได้ยกย่องสรรเสริญความรู้พระอภิธรรมและความสามารถในการแต่งคัมภีร์ประเภทสังคหะของลูกศิษย์ พร้อมกับวิจารณ์ว่าคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะนี้แต่งได้ละเอียดและลึกซึ้งยิ่ง กระนั้นก็อ่านเข้าใจง่าย
แล้วพระมหาปิยทัตตะผู้อาจารย์ก็ได้เปิดการประชุมสงฆ์ขึ้นและนำคัมภีร์ของลูกศิษย์เข้าไปเสนอต่อสงฆ์ ที่ประชุมสงฆ์ได้ตรวจดูแล้วต่างก็อนุโมทนาสาธุการเห็นชอบด้วยตามที่พระอนุรุทธะแต่ง พร้อมกับอำนวยพรให้คัมภีร์ของท่านคงอยู่คู่พระพุทธศาสนาตลอดไป
สังเกตจากผลงานที่ท่านแต่งขึ้นทั้งหมดส่วนใหญ่เป็นโศลกคำฉันท์ และจะมีคาถาคำฉันท์ตบท้ายที่ตอนจบของทุกๆ ปริจเฉท (บท) ในคาถาเหล่านี้บางคาถาแสดงให้เห็นความสละสลวยและความรู้สึกได้ต่อลีลาการแต่งของท่าน อันนี้แสดงว่าพระอนุรุทธะเป็นนักกวีที่มีฝีมือการประพันธ์คำฉันท์ท่านหนึ่งทีเดียว
3. บุพกรรมในอดีตชาติ
ท่านพระอนุรุทธเถระ ก็ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทั้งหลาย ก่อสร้างบุญทั้งหลาย อันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ อันสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ พอเจริญวัยแล้ว วันหนึ่งไปวิหารฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา เห็นพระภิกษุรูปหนึ่ง ที่พระศาสดาทรงแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งเลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้มีจักษุทิพย์ แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้นจึงให้มหาทานให้เป็นไป 7 วัน แด่พระผู้มีพระภาค ซึ่งมีภิกษุบริวารแสนหนึ่งในวันที่ 7 ได้ถวายผ้าชั้นสูงสุด แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ แล้วได้ทำความปรารถนาไว้
ฝ่ายพระศาสดา ก็ได้ทรงเห็นความสำเร็จของเขา โดยไม่มีอันตราย จึงพยากรณ์ว่า จักเป็นผู้เลิศแห่งผู้มีทิพยจักษุทั้งหลาย ในศาสนาของพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในอนาคตกาล เขาเองก็กระทำบุญทั้งหลาย ในพระศาสนานั้น เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ได้ทำการบูชาด้วยประทีปอันโอฬาร ที่สถูปทองขนาด 7 โยชน์ และประทีปกระเบื้องกับถาดสำริดเป็นอันมาก ด้วยอธิษฐานว่า จงเป็นอุปนิสัย แก่ทิพยจักษุญาณ เขาทำบุญทั้งหลายอยู่ตลอดชีวิต ท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก
ในอนาคตกาล เขาเองก็กระทำบุญทั้งหลาย ในพระศาสนานั้น เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ได้ทำการบูชาด้วยประทีปอันโอฬาร ที่สถูปทองขนาด 7 โยชน์ และประทีปกระเบื้องกับถาดสำริดเป็นอันมาก ด้วยอธิษฐานว่า จงเป็นอุปนิสัย แก่ทิพยจักษุญาณ เขาทำบุญทั้งหลายอยู่ตลอดชีวิต ท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก
ในกาลแห่งพระพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะเมื่อพระศาสดาปรินิพพาน เมื่อสถูปทองขนาด 1 โยชน์สำเร็จแล้วจึงเอาถาดสำริดจำนวนมาก มาบรรจุให้เต็มด้วยเนยใส
อันใสแจ๋ว และให้วางก้อนน้ำอ้อยงบ ก้อนหนึ่งๆ ไว้ตรงกลาง ให้ขอบปากกับขอบปากจรดกัน แล้วให้ตั้งล้อมพระเจดีย์ ให้เอาถาดสำริด ที่ตนถือบรรจุด้วยเนยใส อันใสแจ๋วให้เต็มจุดไฟพันไส้ แล้ววางไว้บนศีรษะ เดินเวียนพระเจดีย์อยู่ตลอดคืน ได้กระทำกุศลจนตลอดชีวิต แล้วบังเกิดในเทวโลก ดำรงอยู่ในเทวโลกตลอดชั่วอายุ
อันใสแจ๋ว และให้วางก้อนน้ำอ้อยงบ ก้อนหนึ่งๆ ไว้ตรงกลาง ให้ขอบปากกับขอบปากจรดกัน แล้วให้ตั้งล้อมพระเจดีย์ ให้เอาถาดสำริด ที่ตนถือบรรจุด้วยเนยใส อันใสแจ๋วให้เต็มจุดไฟพันไส้ แล้ววางไว้บนศีรษะ เดินเวียนพระเจดีย์อยู่ตลอดคืน ได้กระทำกุศลจนตลอดชีวิต แล้วบังเกิดในเทวโลก ดำรงอยู่ในเทวโลกตลอดชั่วอายุ
4. การบรรลุธรรม
พระอนุรุทธเถระนี้ ครั้นบวชแล้วได้เรียนกรรมฐานในสำนักพระธรรมเสนาบดี แล้วได้ไปประจำอยู่ที่ปาจีนวังสทายวัน ในเจติยรัฐ บำเพ็ญสมณธรรมตรึกมหาปุริสวิตกได้ 7 ข้อ คือ
1)
ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่ใช่ของผู้มีความมักมาก
2)
ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้สันโดษยินดีด้วยของที่มีอยู่ ไม่ใช่ของผู้ไม่สันโดษ
3) ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้สงัดแล้ว
ไม่ใช่ของผู้ยินดีในหมู่คณะ
4)
ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้ปรารถนาความเพียร ไม่ใช่ของผู้เกียจคร้าน
5) ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีสติมั่นคง
ไม่ใช่ของคนหลง
6) ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีใจมั่นคง
ไม่ใช่ของผู้มีใจไม่มั่นคง
7) ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีปัญญา
ไม่ใช่ของผู้ทรามปัญญา
พระศาสดาทรงทราบว่า ท่านลำบากในมหาปุริสวิตกข้อที่ 8 จึงเสด็จไปยังที่นั้น ตรัสอริยวังสปฏิปทา ว่าด้วยการอบรมความสันโดษในปัจจัย 4 และยินดีในการเจริญกุศลธรรม แล้วตรัสมหาปุริสวิตก ข้อที่ 8 ให้ บริบูรณ์ว่า
8)
ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เนิ่นช้า ไม่ใช่ของผู้ยินดีในธรรมที่เนิ่นช้า
พอเมื่อพระศาสดาเสด็จไปยังเภสกลาวัน ท่านพระอนุรุทธเถระ ก็ได้เป็นพระขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ เป็นพระอรหันต์ มีวิชา 3
5. งานประกาศพระศาสนา
พระอนุรุทธเถระมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยพระศาสดาประกาศพระพุทธศาสนา เพราะท่านชำนาญในทิพพจักษุญาณ จึงเป็นพระที่เทวดาและมนุษย์เคารพนับถือ ท่านมีอายุอยู่มานาน หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ได้เป็นอาจารย์ของหมู่คณะ มีสัทธิวิหาริก และอันเตวาสิกมาก แม้ในการทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 2 ก็ยังมีศิษย์ที่สืบเชื้อสายจากท่านเข้าร่วมด้วยที่ปรากฎชื่อ คือ พระอาสภคามีและพระสุมนะ
ชีวประวัติของท่านก็น่าศรัทธาเลื่อมใส จากผู้ที่เป็นสุขุมาลชาติที่สุด ไม่รู้จักและไม่เคยได้ยินคำว่า ไม่มี ต้องการอะไรได้ทั้งนั้น แต่เมื่อเข้าบวชในพระพุทธศาสนาแล้วกลับเป็นผู้มักน้อยสันโดษ เก็บผ้าจากกองขยะมาทำไตรจีวรนุ่งห่ม โดยไม่มีความรังเกียจ กลับมีความยินดีว่านั่นเป็นการ ปฏิบัติตามนิสัย คือที่พึ่งพาอาศัยของภิกษุ 4 ประการ
6. เอตทัคคะ
ดังได้กล่าวแล้วว่า พระอนุรุทธเถระได้บรรลุพระอรหัตพร้อมวิชา 3 คือ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพพจักขุญาณ และอาสวักขยญาณ ตามปกตินอกจากเวลาฉันภัตตาหารเท่านั้น นอกนั้นท่านจะพิจารณาตรวจดูสัตว์โลกด้วยทิพพจักขุญาณ (เปรียบกับคนธรรมดาก็เหมือนกับผู้มีใจเอื้ออาทรคอยเอาใจใส่ดูแล ทุกข์สุขของผู้อื่นตลอดเวลา) เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงยกย่องท่านว่าเป็นผู้เลิศกว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ได้ทิพพจักขุญาณ
7. บั้นปลายชีวิต
พระอนุรุทธเถระ ดำรงชนมายุมาถึงหลังพุทธปรินิพพาน ในวันที่พระบรมศาสดา นิพพานนั้น ท่านก็ร่วมอยู่เฝ้าแวดล้อม ณ สาลวโนทยานนั้นด้วย และท่านยังได้ร่วมทำกิจพระ ศาสนาครั้งสำคัญในการทำปฐมสังคายนากัลป์คณะสงฆ์โดยมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธานพระอุบาลีเถระวิสัชนาพระวินัย และพระอานนท์เถระวิสัชนาพระสูตรและพระอภิธรรม
ท่านพระอนุรุทธเถระ ดำรงอายุสังขาร โดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธ์ เข้าสู่นิพพาน ณ ภายใต้ร่มกอไผ่ ในหมู่บ้านเวฬุวะ แคว้นวัชชี
ผลงาน
พระอนุรุทธะ พระภิกษุนักปราชญ์แห่งอินเดียใต้ท่านนี้
ได้สร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรมประเภทสังคหะเกี่ยวกับพระอภิธรรมไว้ 3 คัมภีร์ คือ
1. อภิธัมมัตถสังคหะ
2. ปรมัตถวินิจฉยะ
3. นามรูปปริจเฉทะ
ยังมีอีกคัมภีร์หนึ่งที่ Dictionary of
Pali Proper Names ตอนอธิบายศัพท์ว่า “อนุรุทธะ” กล่าวอาจจะเป็นผลงานที่พระอนุรุทธะแต่งก็คือคัมภีร์อนุรุทธศตกะ แต่นักปราชญ์ส่วนใหญ่ก็ไม่ยอมรับคัมภีร์ซึ่งแต่งเป็นภาษาสันสกฤตนี้ว่าเป็นผลงานของพระอนุรุทธะ ท่านโอสการ์ ฟอน ฮินูเบอร์ กล่าวประเด็นนี้ว่า ท่านผู้แต่งคัมภีร์อนุรุทธศตกะ ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤต ไม่ใช่พระอนุรุทธะผู้แต่งคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะอย่างแน่นอน น่าจะเป็นพระอนุรุทธะรูปอื่นมากกว่า
1. คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ
อภิธัมมัตถสังคหะ จัดเป็นคัมภีร์ประเภทสังคหะของพระอภิธรรมปิฎก แปลว่า “การรวบรวมเนื้อหา (อรรถ) ของพระอภิธรรม คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน โดยย่อ” โดยมีความหมายรวมๆ ว่า จิต เจตสิก รูป นิพพาน
และบัญญัติทั้งหลาย ที่ปรากฏในพระอภิธรรมปิฎกทั้ง 7 คัมภีร์ ได้ถูกรวบรวมมาแสดงโดยย่อในคัมภีร์เล่มเดียวนี้ ทั้งนี้ก็เพราะพระอนุรุทธะได้สรุปเนื้อหาสำคัญของพระอภิธรรมทั้งหมดไว้อย่างครบถ้วนและจัดเรียงลำดับจากง่ายไปหายากเพื่อเข้าใจง่าย
คำว่า “สรุปเนื้อหาย่อ” มิใช่การสรุปย่อเนื้อหาของคัมภีร์ 7 คัมภีร์ของพระอภิธรรมปิฎกแต่ละคัมภีร์ แต่หมายถึงการสรุปย่อความครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของพระอภิธรรมปิฎก โดยวิธีย่นย่อทำให้สั้นเข้าและกะทัดรัด
เป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจของผู้ศึกษาพระอภิธรรมปิฎกอย่างกว้างๆ ดังนั้น จึงมีคำกล่าวที่ว่าคัมภีร์ย่อความที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมกันมากที่สุด
ซึ่งก็คืออภิธัมมัตถสังคหะของพระอนุรุทธะนี้ถือกันว่าเมื่ออ่านแล้วจะทำให้อ่านคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎกได้เข้าใจง่ายขึ้น ดังนั้น คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะจึงถือว่า “คล้ายเป็นกุญแจไขตู้อภิธรรม”
คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะนี้ พระอนุรุทธะผู้ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่อยู่ที่วัดมูลโสมวิหาร เมืองอนุราธปุระในลังกาแต่งขึ้นขณะที่ท่านพักอยู่ที่วัดมูลโสมวิหารแห่งนี้ ซึ่งนัมพอุบาสกสร้างถวายไว้และแต่งขึ้นตามคำอาราธนาของท่านนัมพอุบาสกท่านนี้ เพื่อให้ท่านสรุปรวมเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญของพระอภิธรรมปิฎกให้เป็นระเบียบ ให้เข้าใจง่ายและเพื่อเป็นอุปกรณ์ช่วยให้ผู้ศึกษาอภิธรรมเข้าใจพระอภิธรรมปิฎกได้ง่ายขึ้น
หลังจากรับคำอาราธนาของนัมพอุบาสกแล้ว ท่านพระอนุรุทธะก็ได้เริ่มการแต่งอภิธัมมัตถสังคหะอันเป็นคัมภีร์ย่นย่อเนื้อหาสำคัญของพระอภิธรรมในพระอภิธรรมปิฎกทั้งหมดเข้าในหลักปรมัตถธรรม 4 คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน คือ ท่านได้จับหลักปรมัตถธรรมในพระอภิธรรมปิฎกมาตั้งเป็นแม่บท 4 หลัก แล้วสงเคราะห์ธรรมะทั้งปวงในพระอภิธรรมปิฎกเข้าในหลักปรมัตถธรรม 4 นั้น แล้วแต่งมาไว้เป็นคัมภีร์เดียวจาก 7 คัมภีร์ของคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎก
นัยว่าท่านพระอนุรุทธะรวบรวมเนื้อหาจากคัมภีร์ต่างๆ ประมาณ 850 คัมภีร์ มาเขียนและก็ปรากฏว่า ท่านแต่งในลักษณะคล้ายๆ อรรถกถาคืออธิบายพระพุทธพจน์ ด้วยเหตุนี้ในกาลต่อมาบัณฑิตและนักปราชญ์บางท่านจึงขนานนามคัมภีร์นี้ว่า “กนิฏฐอรรถกถา” (อรรถกถาน้องน้อย)
เนื้อหาสำคัญของคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะซึ่งว่าด้วยปรมัตถธรรม
4 คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน อันไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลนี้ พระอนุรุทธะแต่งเป็นคาถาร้อยกรองบ้าง ร้อยแก้วบ้าง แบ่งออกเป็น 9 ปริจเฉท (บท) คือ
ปริทเฉทที่ 1 จิตตสังคหวิภาค ปริจเฉทนี้เริ่มต้นด้วยปณามคาถา (คาถานอบน้อมพระรัตนตรัย) ของพระอนุรุทธะผู้แต่งคัมภีร์นี้ ซึ่งนักศึกษาพระอภิธรรมในเมืองไทยถือกันว่าเป็น “คาถาไหว้ครู” และจะต้องท่องให้ได้ ต่อแต่นั้นก็ว่าด้วยการจำแนกจิตออกเป็น 4 คือ 1) กามาจรจิต จิตที่ท่องเที่ยวไปในกามภพ 2) รูปาวจรจิต จิตที่ท่องเที่ยวไปในรูปภพ 3) อรูปาวจรจิต จิตที่ท่องเที่ยวไปในอรูปภพ และ 4) โลกุตตรจิต จิตขั้นเหนือโลก คือจิตของพระอริยบุคคลประเภทต่างๆ เป็นการอธิบายจิตโดยประเภทแห่งภูมิชาติ สัมปโยคะ สังขาร ฌาน อารมณ์ และมรรคต่างๆ รวมความว่า ในปริจเฉทนี้พูดถึงจิตโดยย่อ 89 ดวง
หรือโดยพิสดาร 121 ดวง
ปริจเฉทที่ 2 เจตสิกสังคหวิภาค ปริจเฉทนี้ว่าด้วยเจตสิก 52 ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก 13 อกุศลเจตสิก 14 และโสภณเจตสิก 25 ซึ่งมีลักษณะเกิดพร้อมกับจิต (เอกุปปาทะ) ดับไปพร้อมกับจิต (เอกนิโรธะ) และมีอารมณ์อันเดียวกับจิต (เอกาลัมพนะ) และมีที่อาศัยเกิดอันเดียวกับจิต (เอกวัตถุกะ)
ปริทเฉทที่ 3 ปกิณณกสังคหวิภา ปริจเฉทนี้ว่าด้วยการแสดงความสามารถของจิตและเจตสิก โดยประเภทแห่งสังคหะ 6 ประการ คือ เวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ และวัตถุ
ปริทเฉทที่ 4 วิถีสังคหะวิภาค ปริจเฉทนี้ว่าด้วยวิถีทางเดินของจิตที่เกิดและดับสืบเนื่องกันตามลำดับในอารมณ์ต่างๆ
กลไกการรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 แบบแผนของความคิดและพฤติกรรม
ปริทเฉทที่ 5 วิถีมุตตสังคหวิภาค ปริทเฉทนี้ว่าด้วยจิตนอกวิถี (จิตใต้สำนึก) อันเป็นกลไกเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ณ ขณะตายไปสู่ขณะเกิดใหม่ ซึ่งเกี่ยวเนื่องด้วยอำนาจกรรมที่จะรักษาความเป็นอยู่ประจำภพภูมิของตน เป็นส่วนที่แสดงที่มาของชีวิตใหม่ในแต่ละภพภูมิ สรุปก็คือ ปริจเฉทนี้พูดถึงภูมิ 4 ปฏิสนธิ 4 กรรม 4 และความเกิดตายคือตายด้วยเหตุอะไร
ปริทเฉทที่ 6 รูปสังคหวิภาค ปริจเฉทนี้ว่าด้วยการจำแนกรูปปรมัตถ์ 28 โดยแสดงรูปธรรมในแง่ต่างๆ 5 นัย คือ โดยสังเขป (สมุทเทสะ)
โดยจำแนกออกเป็นส่วนเป็นคู่ (วิภาคะ) โดยสมุฏฐานการเกิด (สมุฏฐานะ) โดยหมวดหมู่
(กลาปะ) และโดยการเกิด (ปวัตติ) นอกจากนี้ยังแสดงสภาวะของนิพพานปรมัตถ์ไว้ด้วย
(กลาปะ) และโดยการเกิด (ปวัตติ) นอกจากนี้ยังแสดงสภาวะของนิพพานปรมัตถ์ไว้ด้วย
ปริทเฉทที่ 7 สมุจจยสังคหวิภาค
ปริจเฉทนี้ว่าด้วยธรรมที่สามารถสงเคราะห์เข้าเป็นหมวดหมู่ (สมุจจัย) กันได้ คือ จิต 1 เจตสิก 35 นิปผันนรูป 18 และนิพพาน 1 ซึ่งเรียกว่า วัตถุธรรมหรือสภาวธรรม 72 ประการ และว่าด้วยหลักการจัดระบบวัตถุธรรม 72 ดังกล่าวแล้ว เป็นกลุ่มกุศล กลุ่มอกุศล และกลุ่มที่เป็นกลางๆ คือไม่เป็นทั้งกุศลและอกุศล เป็นต้น
ปริทเฉทที่ 8 ปัจจยสังคหวิภาค ปริจเฉทนี้ว้าด้วยการสงเคราะห์ปัจจัย คือธรรมที่อุดหนุนกันและกัน คือปฏิจจสมุปบาท (ปฏิจจสมุปปาทนัย) และปัจจัย 24 (ปัฏฐานนัย) อันเป็นระเบียบเงื่อนไขของชีวิตและความเป็นอยู่
ปริทเฉทที่ 9 กัมมัฏฐานสังคหวิภาค ปริจเฉทนี้ว่าด้วยหลักและวิธีการปฏิบัติของสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตลอดจนข้อจำกัดและความสามารถของกัมมัฏฐานทั้ง 2 อันเป็นแนวทางในการหยุดกระบวนการชีวิต คือหมดทุกข์ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป เพราะเข้าถึงนิพพานอันเป็นจุดหมายสูงสุดของชาวพุทธ
คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะนี้ พระอนุรุทธาจารย์แต่งขึ้นมีลักษณะคล้ายคัมภีร์ปกรณ์วิเศสวิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆสาจารย์ กล่าวคือ ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ
พระอนุรุทธะแต่งอธิบายย่อหัวข้อธรมในพระอภิธรรมปิฎกทั้ง 7 คัมภีร์ ออกเป็น 4 คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ส่วนในคัมภีร์ปกรณ์วิเศส วิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสาจารย์แต่งอธิบายย่นย่อหลักธรรมทั้งหมดในพระไตรปิฎกออกเป็น 3 คือ ศีล สมาธิ และปัญญา อีกอย่าง บางท่านกล่าวว่า คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะอาจกล่าวว่า “เป็นคัมภีร์ย่อความในวิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆสาจารย์ก็ได้ เพราะบริบูรณ์ด้วยอรรถแห่งศีล สมาธิ และปัญญาเหมือนกัน ผิดกันแต่ว่าในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะท่านหนักในทางปัญญาเสีย 8 ปริจเฉท มีพูดถึงศีลสมาธิเอาตอนปริเฉทท้าย (คือปริจเฉทที่ 9) ก็นับว่าเป็นเหตุผลที่น่ารับฟังทีเดียว
พระอนุรุทธะแต่งอธิบายย่อหัวข้อธรมในพระอภิธรรมปิฎกทั้ง 7 คัมภีร์ ออกเป็น 4 คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ส่วนในคัมภีร์ปกรณ์วิเศส วิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสาจารย์แต่งอธิบายย่นย่อหลักธรรมทั้งหมดในพระไตรปิฎกออกเป็น 3 คือ ศีล สมาธิ และปัญญา อีกอย่าง บางท่านกล่าวว่า คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะอาจกล่าวว่า “เป็นคัมภีร์ย่อความในวิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆสาจารย์ก็ได้ เพราะบริบูรณ์ด้วยอรรถแห่งศีล สมาธิ และปัญญาเหมือนกัน ผิดกันแต่ว่าในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะท่านหนักในทางปัญญาเสีย 8 ปริจเฉท มีพูดถึงศีลสมาธิเอาตอนปริเฉทท้าย (คือปริจเฉทที่ 9) ก็นับว่าเป็นเหตุผลที่น่ารับฟังทีเดียว
2. คัมภีร์ปรมัตถวินิจฉยะ
ปรมัตถวินิจฉยะ เป็นคัมภีร์ประเภทสังคหะสายพระอภิธรรมอีกคัมภีร์หนึ่งที่พระอนุรุทธะแห่งเมืองกาญจิปุระแต่งขึ้น คำกล่าวตอนท้ายของคัมภีร์เล่มนี้กล่าวว่า พระอนุรุทธะแต่งคัมภีร์นี้ขณะที่ท่านพักอยู่ที่เมืองตัญชะ ในอาณาจักรตัมพะ ตามคำอาราธนาของใครคนหนึ่งไม่ปรากฏชื่อ รู้แต่ว่าเขาเกิดในเมืองกาวีละใกล้นครกาญจิปุระ เมืองหลวงแห่งอาณาจักรปัลลวะในอดีต เนื่องจากว่าคัมภีร์นี้เอ่ยถึงเมืองกาญจิปุระซึ่งอยู่ในประเทศอินเดียตอนใต้จึงทำให้นักวิชาการบางท่านแสดงทัศนะไว้ว่า ผู้แต่งคัมภีร์ปรมัตถวินิจฉยะนี้ไม่น่าจะใช่คนเดียวกับพระอนุรุทธะที่เขียนคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะและคัมภีร์นามรูปปริจเฉทะ
คัมภีร์ปรมัตถวินิจฉยะนี้ พระอนุรุทธะแต่งขึ้นสอดคล้องกับทัศนะของคณะสงฆ์ฝ่ายมหาวิหารในลังกาและแต่งเป็นโศลกคาถาร้อยกรองยาวถึง 1,142 คาถา โดยจัดแบ่งเป็นตอนๆ ไว้ 29 ตอน เนื้อหาที่พูดถึงในคัมภีร์นี้กล่าวถึงเรื่องจิต เจตสิก รูป และนิพพาน
3. คัมภีร์นามรูปปริจเฉทะ
นามรูปปริจเฉทะ เป็นคัมภีร์ประเภทสังคหะสายพระอภิธรรมที่พระอนุรุทธะแต่งอยู่ในลังกาตามประเพณีนิยมแห่งสำนักมหาวิหารที่ท่านเข้าไปศึกษา คัมภีร์นี้แต่งเป็นคาถาร้อยกรองยาวถึง 1,845 คาถา และจัดแบ่งเป็นตอนๆ ไว้ถึง 29 ตอน ส่วนใหญ่แต่งเป็นโศลกคาถา มีคาถาสรุปอยู่ท้ายของตอนในทุกๆ ตอน
คัมภีร์นามรูปปริจเฉทะนี้มิได้แต่งขึ้นด้วยประสงค์จะให้มีเนื้อหากินความครอบคลุมกว้างเฉกเช่นคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ แต่มุ่งแสดงเนื้อหาพระอภิธรรมทั่วๆ ไป เช่น นามและรูป กรรมอนุสสติ และวิปัสสนา
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1. เป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียร พระอนุรุทธะ เป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นขวนขวายหาความรู้อยู่เสมอ จนกระทั่งได้บรรลุอรหัตผล
2. เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการประกาศพระพุทธศาสนา เป็นสดมภ์หลักของพระพุทธศาสนารูปหนึ่ง
3. เป็นผู้มีความมักน้อย ถึงแม้ท่านจะเคยเป็นเจ้าชายในราชสกุลมาก่อนแต่ท่านก็มิได้เย่อหยิ่งถือพระองค์แต่อย่างใด ตรงกันข้ามกับเป็นผู้ที่มักน้อยสันโดษ ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นที่เคารพยกย่องของผู้อื่นอยู่เสมอ
สรุป
1. ข้อมูลชีวประวัติของพระอนุรุทธะในเรื่องชาติภูมิออกจะสับสนว่าท่านเป็นคนชาติใดกันแน่ระหว่างอินเดียกับลังกาแต่ผู้เขียนให้น้ำหนักท่านเป็นชาวอินเดียใต้มากกว่าชาวลังกาและอีกอย่างก็คือเรื่องยุคสมัยของท่านปัญหามีอยู่ว่าท่านมีชีวิตร่วมสมัยกับพระพุทธโฆสาจารย์หรือหลังพระพุทธโฆสาจารย์กันแน่แต่เท่าที่หลักฐานมีนักปราชญ์ตะวันตกเกือบทุกท่านให้น้ำหนักยุคสมัยท่านไปที่หลังสมัยพระพุทธโฆสาจารย์
ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8 ถึง 12 หลายท่านให้น้ำหนักไปที่คริสต์ศตวรรษที่ 11 หรือ 12
2.ผลงานของพระอนุรุทธะไม่ค่อยมปัญหาเรื่องการยืนยันว่าเป็นผลงานที่ท่านแต่งขึ้นหรือไม่เท่าที่พบมีเพียงคัมภีร์เดียวซึ่งเป็นคัมภีร์ภาษาสันสกฤต นั่นก็คือคัมภีร์อนุรุทธศตกะ เหตุที่มีคำว่า “อนุรุทธะ” ปรากฏที่ชื่อคัมภีร์นักปราชญ์บางท่านจึงสันนิษฐานว่าเป็นผลงานของพระอนุรุทธะท่านนี้แต่กระนั้นนักปราชญ์ส่วนใหญ่ก็เชื่อว่าเป็นผลงานของพระอนุรุทธะท่านอื่น
3. พระอนุรุทธะเป็นนักปราญ์ทางพระพุทธศาสนาฝ่ายบาลีสายพระอภิธรรมผลงานของท่านจัดอยู่ในประเภทสังคหะกึ่งอรรถกถา คือเป็นหนังสือคู่มือย่อยอธิบายเนื้อหาของพระอภิธรรมปิฎกรวมทั้ง 7 คัมภีร์
คัมภีร์ที่เด่นและมีชื่อเสียงมากที่สุด ก็คือ คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะซึ่งเป็นคัมภีร์ที่กล่าวกันว่าได้รับอิทธิพลหรือแนวนัยจากคัมภีร์อภิธัมมาวตาระของพระพุทธทัตตะและแต่งเป็นคัมภีร์ย่อเนื้อหาธรรมะคล้ายๆ กับคัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆสาจารย์ต่างกันแต่ว่าคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะของพระอนุรุทธะย่ออธิบายเนื้อหาเฉพาะพระอภิธรรมปิฎกส่วนคัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆสาจารย์ย่ออธิบายเนื้อหาพระไตรปิฎกทั้งหมด
ด้วยเหตุที่คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะแต่งย่อและอธิบายเนื้อหาของคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมดได้ดี ชัดเจน เข้าใจง่ายจึงเป็นที่รู้จักและยอมรับกันในหมู่นักศึกษาพระอภิธรรม คณะสงฆ์ไทยเองก็เห็นความสำคัญของการศึกษาพระอภิธรรมและยอมรับคัมภีร์ของพระอนุรุทธะว่าแต่งดี มีเนื้อหาสมบูรณ์จึงกำหนดใช้เป็นตำราศึกษาความรู้พระพุทธศาสนาชั้นสูงที่เรียกกันว่าพระอภิธรรมในหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เปรียญธรรม 9 ประโยค (ป.ธ.9) ในวิชาแปลมคธเป็นไทย เพื่อศึกษาการแปลความรู้พระอภิธรรมในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะที่เป็นภาษาบาลีออกเป็นภาษาไทย
เจ้าของบล็อกนี้ ทำได้ดีมากๆ เป็นอุปการะ ในด้านการศึกษาอย่างดี
ตอบลบแต่จะขอแสดงความคิดเห็น ท้วงติง บางประการ เพื่อความเข้าใจ ที่ถูกต้อง
...
พระอนุรุทธะ หรือ พระอนุรุทธาจารย์ ที่แต่งคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ
น่าจะเป็น คนละคน กับ พระอนุรุทธะ ที่เป็นพระอริยสาวก สมัยพุทธกาล
เพราะ คนละยุค สมัยกัน
...
พระอนุรุทธะที่เป็น เจ้าชายอนุรุทธะ แล้วมาอุปสมบท สมัยพุทธกาล ท่านเป็น เอตทัคคะ ผู้เลิศด้านทิพพจักขุ (ดวงตาทิพย์) ท่านได้เข้านิโรธสมาบัติ ตอนที่ พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพาน
...
ส่วน พระอนุรุทธาจารย์ ที่แต่งคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นพระภิกษุสมัยหลังพุทธกาล ท่านเป็นศิษย์รุ่นน้องของ พระพุทธโฆสาจารย์ (ผู้แต่ง วิสุทธิมรรค) ในสำนักวัดมหาวิหาร ที่เมืองอนุราธปุระ เมืองลังกา
...
ดังนั้น ขอให้ผู้อ่านข้อความเบื้องต้น ได้ค้นคว้าศึกษา ให้ชัดเจน
เพราะอาจจะส่งผลต่อความเข้าใจ และส่งต่อข้อมูลที่ไม่ชัดเจน ต่อไปได้
...
ชื่อบุคคล อาจจะซ้ำกัน พ้องกัน เป็น ธรรมดา
สมัยพุทธกาล มี พระภิกษุ ชื่อ กัสสปะ หลายท่าน จึงเรียกขานให้ชัดเจน แตกต่างกัน
เช่น พระมหากัสสปะ , พระอุรุเวลกัสสปะ , พระคยากัสสปะ , พระนทีกัสสปะ , พระกุมารกัสสปะ
...
เปรียบง่ายๆ กับสมัยปัจจุบัน เช่น ชื่อ สมชาย สมศักดิ์ สมศรี สมเดช พิพัฒน์
มีบุคคล ซ้ำกัน หลายท่าน แต่เป็น คนละคน กัน
...
ที่ลงความเห็น เพื่อให้เข้าใจ ได้ถูกต้อง
สาธุๆๆ เจริญพร